RBF

RBF เราไม่ได้ขายขนม เราไม่ได้ขายไก่ทอด แต่เราช่วยให้คนขายขนมและไก่ทอดขายดียิ่งขึ้น
.
.
สินค้าเรามีทั้งสิ้น 6 กลุ่ม
(1)วัตถุแต่งกลิ่นและสีผสมอาหาร (ตัวหลัก)
(2)แป้งและซอส  เกล็ดขนมปังเวลาเราเอาไปทอดหรือไก่ทอดเป็นต้น
(3)
อบแห้ง Spray Dry - ใช้ในอุตสาหกรรม
(4)อาหารแช่แข็ง
(5)บรรจุพลาสติก
(6)ซื้อมาขายไป

**เคล็ดลับคือ Supply Chain ที่ตอบโจทย์กับผู้บริโภค (ผู้บริโภคในที่นี้คือผู้ที่ทำธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม) ทำให้ลูกค้าเชื่อมั่นในตัวเรา 

หากลูกค้าต้องการ customize อะไรบ้างอย่าง เช่นต้องการเวลาที่สั้นลง เป็นต้น

หากเราจะขายบราวนี่นั่นไม่ยากหรอก แต่จะขายยังไงให้เยอะๆ และขายดี คงรสชาติอยู่ คำตอบหนึ่งคือทำอย่างไรให้บริหาร Supply Chain อย่างมีประสิทธิภาพ จากนั้นของจะขายได้เอง

(A)ทำบราวนี่เหมือนกัน(B)ก็ทำบราวนี่ ราคาเท่ากันอร่อยเท่ากัน ต่อไปจะตัดสินที่เวลา (A)สั่งวันเดียวได้ (B)สองวันได้ 

ต่อมามาวัดที่ต้นทุน (A) ต้นทุน 50 บาท (B)ต้นทุน 80 บาท ขายก้อนละ 100 เท่ากัน (A) ยังมีแรงเหลือตัดส่วนแบ่งให้ตัวแทนจำหน่าย สุดท้ายก็จะมีการกระจายสินค้าที่ดีขึ้น

Supply Chain คือหัวใจและหลังบ้านของธุรกิจ

การส่งอาหารกำลังมา หากสั่งกระเพราสักจานทำยังไงให้มาถึงบ้านแล้วกลิ่นกระเพรายังอยู่?

การบริหารจัดการ Cost ที่ดีได้ ต้องมี strategic partner ที่ดี ไม่ใช่การมีต้นทุนที่ถูกที่สุด หาคนที่เค้าเข้าใจเรา เช่นหากเค้าต้องใช้ A โดย B + C ถึงได้ A ฝากเธอผสมมาหน่อยได้ไหม ตอนนี้ฉันติดจริงๆ 

แต่ละประเทศ ปัญหา Supply Chain จะแตกต่างกัน เช่นประเทศจีนระบบขนส่งเค้าดีมาก เมืองไทยยังไม่พัฒนา ค่าขนส่งเราจึงค่อนข้างสูง เราจะรู้ตัวว่าไม่ดี จนกว่าจะไปเปรียบเทียบกับคนอื่น

สิ่งที่ยากของเราคือ warehouse เพราะสินค้าเราเยอะ และระบบสูตรที่ต้องดูแลเป็นอย่างดี ทีม R&D ต้องพร้อมปรับตัว ทีมเซลล์ต้องมีประสบการณ์ในการเข้าใจลูกค้า

เราพร้อมปรับตัวให้เข้ากับลูกค้า เช่นเจ้านี้โกดังไม่ใหญ่ เราก็ต้องพร้อมซอยของให้เค้า ,เจ้านี้อยากได้ของแพ็คเล็กลง งั้นส่งถุง 5 กิโลดีกว่าไหม แทนที่จะส่งแพ็ค 10 กิโล 

มันคือวิทยาศาสตร์ เช่นหากเราต้องการเนื้อสัมผัสของเนื้อ กลิ่น และรส ก็ต้องแยกมาทำเป็นส่วนๆ เนื้อสัมผัสทีหนึ่ง จากนั้นมาทำกลิ่น และรส
**เรามีห้องสมุดกลิ่นถึง 5,000 กลิ่น 

บริหารจัดการนักวิจัยอย่างไร? ต้องทำให้ทุกคนมีความสุข ต้องไม่ถูกบังคับจนเกินไป จัดอุปกรณ์และสิ่งแวดล้อมให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ เช่นอยากได้พู่กัน 10 แบบ จัดไป

การกำหนด KPI  มีทั้งผลดีและผลเสีย วัดปริมาณผลงานที่ออกมา หรือวัดผลงานที่ออกมากับการขายได้จริง

มีการให้ทุนมหาลัยทั้งแบบให้เปล่าหรือร่วมทุนวิจัย 

แล้ววันๆ เราทำอะไร? การสังเกตง่ายๆ ว่าเราจะทำอะไร คือ การไหลลงมาของครัวมิชลินสตาร์ลงมาสู่ร้านสามดาว สักพักลงมาร้านอาหารธรรมดา สักพักไหลลงมาร้านสดวกซื้อ เราก็ต้องเตรียมตัวแล้ว แนวโน้มมักจะเป็นแบบนี้ สิ่งที่ยากคือ 1.รสชาติต้องเหมือน 2.รสชาติต้องมาตรฐาน 3.ต้องมีอายุนานขึ้นได้

การบุกตลาด
กลยุทธ์ในไทย -> พยายามจะเป็น trendsetter และเพิ่ม item ในการขายให้มากขึ้น (จำนวนลูกค้าเราเยอะอยู่แล้ว เน้นเพิ่มปริมาณ item แทน)

กลยุทธ์ในต่างประเทศ ->ต้องมี team เซลล์ local ขึ้นมาก่อน

การเข้าตลาดหลักทรัพย์ -> เพื่อเพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับลูกค้า ทำงานเป็นระบบและดึงดูดคนรุ่นใหม่เข้ามาเสริมการทำงาน

คู่แข่งเราคือใคร คู่แข่งตรงๆ ไม่มี เพราะเราทำหลายประเภทมาก แต่คู่แข่งเฉพาะชนิดก็มีบ้าง CLMV เรายังคงเป็น Big Player 

แต่ถ้าในยุโรปเราอาจจะไม่เก่งเท่าเค้า เราก็ต้องเปลี่ยนตัวเปิด เช่นเอาอาหารแช่แข็งอาหารไทยไปสู้ พอเริ่มมีตลาด มีลูกค้า มีสต๊าฟ ก็ค่อยเอาตัวอื่นตามไป

เป้าหมายบริษัท
1.การเติบโตของบริษัททั้งในและต่างประเทศ
2.ทำให้ทุกคน Happy นักลงทุน ผู้ถือหุ้น พนักงาน 
3.อยากไปให้ได้เหมือนไตหวันหรือเกาหลี ที่มี Product ของเค้าไปอยู่ในประเทศอื่นๆ ได้

เรามีความสุขที่คนกินอาหารแล้วคนบอกว่าอร่อยโดยที่มีเราเป็นส่วนร่วม 

การบริหารงานบุคคลเป็นสิ่งที่สำคัญมาก ผู้บริหารต้องคิดว่าอะไรเป็นปัจจัยที่สองสามสี่ ในการทำให้คนอยากทำงานกับคุณต่อ ยกเว้นเงินนั่น คำตอบคือให้คนที่เค้าทำงานกับเราทำงานได้รับการยอมรับ

.
.
สรุป
1.Supply Chain เป็นหัวใจในการตอบโจทย์ผู้บริโภค B2B
2.R&D โดยมุ่งเน้นที่ความสุขของนักวิทยาศาสตร์ และการตั้งเป้าที่ถูกต้อง
3.การบริหารทรัพยากรบุคคลสำคัญที่สุด









Comments